🇹🇭 ความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ..คือกุญแจสู่การเติบโตของบล็อกเชน

สะพานเชื่อมเชน (Bridges) ไซด์เชน (sidechains) และตัวแปลง AGIX ERC20 คือคำตอบ ในการพัฒนาการข้ามเชนของ Cardano

Cardano กำลังขยายชุมชนนักพัฒนาและผู้ที่สนใจเทคโนโลยีบล็อกเชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลเชิงลึกของบล็อกเชน Cardano ปัจจุบันมีโทเค็นมากกว่า 4.5 ล้านโทเค็น โปรเจค NFT มากกว่า 5,000 โปรเจค และจำนวนโปรเจคโดยรวมทั้งหมดมากกว่า 900 โปรเจค ที่สร้างบน Cardano ในปัจจุบัน

เพื่อสนับสนุนการเติบโตนี้ ชุมชนกำลังดำเนินการเกี่ยวกับการปรับใช้ Cardano ในวงกว้าง ซึ่งกุญแจสำคัญในเรื่องนี้ก็คือความสามารถในการทำงานร่วมกันกับบล็อกเชนอื่น ๆ

ในบทความนี้ Input Output Global (IOG) ได้กล่าวถึงสะพานเชื่อมบล็อกเชน (blockchain bridges) ไซด์เชน (sidechain) และบทบาทของตัวแปลง AGIX ERC20 สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างบล็อกเชนสามารถทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะเพิ่มความสามารถในปรับขนาดได้มากขึ้น นำเทคโนโลยีมาใช้ได้จริง และใช้งานง่าย

ความสามารถในการทำงานร่วมกัน

ณ ปัจจุบันมีจำนวนบล็อกเชนนับพัน เช่น Bitcoin, Ethereum, Algorand, Solana และอื่นๆ ซึ่งแต่ละเชนใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมที่หลากหลายและมีระบบและกฎเกณฑ์ของตนเอง การทำงานร่วมกันเป็นความสามารถของเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์จากข้อมูลระหว่างกัน และเพื่อให้สามารถย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทต่างๆ ได้ด้วย

มูลค่าที่เกิดขึ้นในแต่ละบล็อกเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ อย่างไรก็ตาม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวม แต่ละเครือข่ายต้องไม่ทำงานแบบ silo (ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่าทีมเวิร์ค) หมายถึงต้องไม่ทำงานโดยคิดแต่เพียงระบบนิเวศของตัวเอง เมื่อปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้น ยูสเซอร์มักจะเปลี่ยนไปใช้เครือข่ายอื่นเพราะแต่ละบล็อกเชนจะมีแนวทางจัดการงานเฉพาะของตนที่บล็อกเชนอื่นอาจจะไม่มี เหตุผลในเปลี่ยนเครือข่ายนั้นอาจเกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม ความเร็วในการดำเนินการธุรกรรม ความปลอดภัย หรือสิ่งจูงใจอื่นๆ

การทำงานร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชนในอันที่จะประสบความสำเร็จ โดยยูสเซอร์ควรสามารถทำธุรกรรมระหว่างบล็อกเชนโดยไม่จำกัดเพียงเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่ง นักพัฒนาซอฟต์แวร์ควรสามารถเขียน smart contracts ที่เข้ากันได้กับบล็อกเชนจำนวนมาก และแน่นอน ยูสเซอร์ควรจะสามารถทำธุรกรรมกับโทเค็นทุกประเภทได้โดยไม่มีข้อจำกัด

ไซด์เชน (sidechain) และ สะพานเชื่อมบล็อกเชน (blockchain bridges) เป็นสองเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ โดยอนุญาตให้ยูสเซอร์สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับหลายๆ บล็อกเชนได้พร้อมกัน

สะพานเชื่อมบล็อกเชน (Blockchain bridges)

ย้อนกลับไปในเมื่อ 2017 ในระหว่างที่ชาร์ลส์ ฮอสกินสัน นำเสนอความรู้ผ่านกระดานไวท์บอร์ด เขากล่าวกว่า “แนวคิดเรื่องการทำงานร่วมกันคือการที่ไม่ใช้โทเค็นเดียวในการควบคุมโทเค็นอื่น”

สะพานบล็อกเชนจะช่วยให้โทเค็นดั้งเดิมของบล็อกเชนหนึ่งบล็อกใช้กับบล็อกเชนอื่นได้ สะพานจะอนุญาตให้ย้ายโทเค็นจากบล็อกเชนหนึ่งไปยังอีกบล็อกหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้สำหรับการชำระเงินหรือโต้ตอบกับแอพพลิเคชันที่กระจายอำนาจ (DApps) ได้

สะพานบล็อกเชนมี 3 ประเภท ได้แก่:

  1. แบบรวมศูนย์ (Centralized): สะพานแบบนี้มีผู้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุมฝ่ายเดียว (เช่น บริษัท เป็นต้น) และทำการตรวจสอบการทำงานของสะพานทั้งหมด
  2. แบบได้รับอนุญาตให้รวมศูนย์ (Permissioned หรือ federated): สะพานแบบนี้จะมีการกระจายอำนาจมากขึ้นเนื่องจากดำเนินการโดยหลายฝ่าย อย่างไรก็ตาม บุคคลหรือนิติบุคคลที่ต้องการเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องต้องได้รับอนุญาตจากสหพันธ์ที่ดูแลสะพานเพื่อตั้งค่าและเรียกใช้โหนดที่ช่วยตรวจสอบการทำงานของสะพาน
  3. แบบไม่ต้องขออนุญาต หรือไม่ต้องไว้ใจใคร (Permissionless หรือ Trustless): สะพานแบบนี้ทำงานโดยระบบกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์ ทุกคนสามารถเข้าร่วมสะพานนี้เพื่อช่วยรักษาความถูกต้องของการดำเนินงาน

โดยทั่วไป ตัวดำเนินการสะพานข้ามเชนจะทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบเครือข่าย ซึ่งจะยอมรับโทเค็นที่จะย้ายและเก็บไว้ใน smart contract ซึ่งการใช้ smart contract นี้จะทำให้สามารถออกโทเค็นที่เทียบเท่ากันบนเครือข่ายอื่นได้ สะพานข้ามเชนบางตัวสามารถย้ายโทเค็นได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น ในขณะที่บางตัวสามารถโอนได้ทั้งสองทิศทาง ตัวอย่างเช่น สะพานทิศทางเดียวสามารถย้ายโทเค็นจาก Ethereum ไปยัง Cardano เพื่อให้ยูสเซอร์สามารถปฏิสัมพันธ์กับ DApps บน Cardano ได้ แต่หากสะพานเป็นแบบสองทิศทาง ยูสเซอร์จะสามารถย้ายโทเค็นกลับจาก Cardano ไปยัง Ethereum ได้ด้วย กลไกสะพานข้ามเชนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ smart contracts ที่ใช้ภายในเครือข่าย

ตัวแปลง AGIX ERC20 คืออะไร

จากความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่าง IOG และ SingularityNET เพื่อภารกิจให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้บล็อกเชน Cardano มากขึ้น โดยการสร้างสะพานเชื่อมบล็อกเชนสำหรับนักพัฒนา Ethereum เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่าย รวมทั้งเอื้อให้เกิดการประหยัดต้นทุนมากขึ้นในการสร้างแอพพลิเคชันของพวกเขา

SingularityNET เพิ่งเปิดตัวตัวแปลง AGIX-ERC20 บน mainnet ซึ่งเป็นสะพานข้ามเชนแบบรวมศูนย์ หมายความว่าความถูกต้องของการดำเนินการและความสำเร็จในการโอนโทเค็นจะได้รับการจัดการโดย SingularityNET เท่านั้น

แม้ว่า SingularityNET จะสามารถรองรับตัวแปลง AGIX-ERC20 ได้อย่างอิสระ แต่ IOG ยังคงทำงานเพื่อหาทางออกอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับระบบนิเวศของ Cardano เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของตนได้ ทีมธุรกิจการค้าของ IOG พร้อมให้บริการนักพัฒนา DApps และองค์กรต่างๆ ด้านความร่วมมือที่อาจเกิดขึ้นร่วมกันเกี่ยวกับสะพานบล็อกเชนและตัวแปลงในรูปแบบอื่นๆ ในอนาคต หรือโครงการริเริ่มอื่นๆ โดยสามารถติดต่อ IOG ได้โดยตรง

ไซด์เชน (Sidechains)

ประโยชน์หลักของไซด์เชน คือความสามารถในการนำคุณสมบัติใหม่ให้กับเครือข่ายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยกับเครือข่ายหลัก ไซด์เชนขยายความสามารถในการปรับขนาดของบล็อกเชนได้ เนื่องจากช่วยลดภาระในการประมวลผลตรรกะที่ซับซ้อนออกจากเชนหลัก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเร็ว (และลดต้นทุน) ของการประมวลผลธุรกรรม ไซด์เชนยังสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสองทางสำหรับการถ่ายโอนโทเค็นระหว่างเชนหลักและเชนอื่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนเป็นอย่างมาก

กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ ไซด์เชนคือบล็อกเชนที่แยกจากกันซึ่งเชื่อมต่อกับ mainnet โดย mainnet ทำหน้าที่เป็นบล็อกเชนหลัก แต่เนื่องจากไซด์เชนเป็นบัญชีแยกประเภท จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการรับส่งข้อมูลโดยรวม องค์กรสามารถตั้งค่าไซด์เชนของตนเองเพื่อประมวลผลธุรกรรม ดำเนินการกับ smart contracts และย้ายโทเค็นได้เร็วขึ้น การดำเนินการเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังถูกกว่าในเครือข่ายหลักมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคน

ไซด์เชนยังสามารถสืบทอดคุณสมบัติบางส่วน (หรือทั้งหมด) ของเชนหลัก เช่น โมเดลบัญชีแยกประเภทและกลไกฉันทามติ อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถใช้โมเดลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมายขององค์กร ตัวอย่างเช่น สามารถรวมโปรโตคอลความปลอดภัย อัลกอริธึมฉันทามติ หรือโมเดลการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างไซด์เชนใหม่ที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่น

ไซด์เชนของ Cardano

การเพิ่มไซด์เชนให้กับ Cardano ทำให้สามารถสร้างโอกาสสำหรับนักพัฒนาที่ใช้ภาษา Solidity บน Ethereum ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ Ethereum Virtual Machine (EVM) นักพัฒนาสามารถสร้าง DApps บน Cardano ได้อย่างง่ายดาย

Milkomeda เป็นโปรโตคอลไซด์เชนที่เพิ่งเปิดตัวเพื่อรองรับ Cardano ที่ช่วยให้ smart contracts ที่เข้ากันได้กับ EVM ดำเนินการได้บนไซด์เชน Milkomeda C1 ซึ่งเชื่อมต่อกับเชนหลักของ Cardano ปัจจุบัน Milkomeda ไม่ได้ใช้โมเดลความปลอดภัยของ Cardano แต่กำลังได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยระดับสูงสุด Milkomeda ให้บริการ DApps ที่หลากหลาย โดยอนุญาตให้นักพัฒนาย้ายโครงการที่มีอยู่จาก Ethereum ได้ และยังอนุญาตให้นวัตกรรมใหม่ๆ ในเทคโนโลยี zero-knowledge สามารถใช้เป็นโซลูชัน L3+ บนโปรโตคอลได้ นอกจากนี้ Milkomeda ตั้งเป้าที่จะให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง Cardano กับบล็อกเชนอื่นๆ เช่น Solana ภายในสิ้นปี 2022

เมื่อไม่นานมานี้ Wanchain ได้ประกาศสะพานข้ามเชนแบบกระจายอำนาจตัวใหม่ ที่เป็นแบบ non-custodial (ไม่มีการล็อกเก็บ) และเป็นชนิดสองทิศทางที่เชื่อมต่อ Cardano กับบล็อกเชนเลเยอร์ 1 อื่น ๆ Wanchain เป็นทั้งบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ที่ใช้ระบบ proof-of-stake (PoS) และเป็นระบบในการทำงานร่วมกันแบบกระจายอำนาจ โดย Wanchain เลเยอร์ 1 นี้ เป็นบล็อกเชนที่มีสภาพแวดล้อมแบบเดียวกับ Ethereum ที่ทำงานได้กับเครื่องมือ, DApps และโปรโตคอลตามมาตรฐานของ Ethereum ที่สำคัญคือ Wanchain มีจุดร่วมบางอย่างกับ Cardano บล็อกเชนของ Wanchain ใช้อัลกอริธึม Proof of Stake ที่ชื่อว่า Galaxy Consensus ซึ่งใช้ประโชน์จากรูปแบบการเข้ารหัสที่หลากหลาย รวมถึงการกระจายการแชร์ข้อมูลแบบลับๆ และ threshold-signature เพื่อปรับปรุงการสร้างตัวเลขสุ่มและกลไกการผลิตบล็อก Galaxy Consensus พัฒนาโดยนักวิจัยและนักวิชาการระดับโลก เป็นสิ่งสืบเนื่องจากอัลกอริทึ่ม Ouroboros ของ Cardano

Dr. Ben Goertzel ซีอีโอของ SingularityNET ได้ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่าโปรเจคบุกเบิก AI ของเขากำลังเปิดตัวไซด์เชนที่ชื่อว่า HyperCycle มันถูกออกแบบให้เป็นสถาปัตยกรรมเลเยอร์ 2 ที่มีน้ำหนักเบาเพื่อให้สามารถใช้งานในราคาประหยัด ความเร็วสูง และมีขนาดใหญ่ได้ โปรเจคนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ AI และจะมีผลกระทบกับหลายโดเมนนอกเหนือจาก AI ที่ต้องการไซด์เชนที่มีประสิทธิภาพและปรับขนาดได้

Orbis เป็นโซลูชันการปรับขนาดเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นภายในระบบนิเวศของ Cardano โดยที่ Orbis จะทำหน้าที่เป็นโปรโตคอลโรลอัพเลเยอร์ 2 แบบ ZK (zero-knowledge) ย้ายการคำนวณนอกเชนเพื่อปรับขนาดปริมาณงานของ Cardano

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด IOG กำลังวางแผนที่จะเปิดตัวไซดเชน EVM แบบไม่ต้องขออนุญาต (permissionless) ในปีนี้ โดยที่ไซด์เชนนี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียน Solidity smart contracts บน Cardano, สร้าง DApps ที่เข้ากันได้กับ EVM และโทเค็นที่เข้ากันได้กับ ERC20 (และต่อมาก็จะกลายเป็นไซด์เชนของพวกเขาเอง) ในขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์มากมายจากบล็อกเชน Cardano ซึ่งหมายความว่ายูสเซอร์จะได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ามาก และเวลาการทำธุรกรรมที่เร็วขึ้น บนบล็อกเชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมากนี้ คุณสมบัติหลักของไซด์เชน EVM จะเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์กับการอัพเกรด และเครื่องมือของ Ethereum, ความเข้ากันได้ของกระเป๋าเงิน Web3, การใช้โปรโตคอล Ouroboros Byzantine Fault Tolerance และแน่นอนว่าความสามารถในการสืบทอดความปลอดภัยจากเชนหลักอย่าง Cardano

ที่มา: Interoperability is key to blockchain growth - IOHK Blog

2 Likes